วัสดุทำป้ายยอดนิยม พร้อมตัวอย่างป้ายโฆษณา
แชร์
ประเภทวัสดุทำป้ายยอดนิยม ตัวอย่างป้ายโฆษณาแบบต่าง ๆ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าร้าน พ่อค้าแม่ขาย ผู้สนใจทำป้าย ผู้ออกแบบควรรู้ สามารถเป็นไอเดียเพื่อเลือกสรรใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์โฆษณาแบรนด์ได้
ป้ายโฆษณาตามท้องตลาดที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป รวมทั้งงานดีไซน์แปลกตา มักจะมีองค์ประกอบจากการเลือกใช้วัสดุต่าง ๆ นำมาผสมผสานเป็นงานป้ายอยู่หลายประเภท แต่ที่เป็นที่นิยมมากสามารถเรียบเรียงมาได้ตามเนื้อหาในบทความนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการ สั่งทำป้ายได้ตรงตามความต้องการ สามารถสื่อสารกับบริษัทหรือร้านรับทำป้ายได้แม่นยำตรงความต้องการมากขึ้น ป้ายโฆษณาที่ดีต้องตอบโจทย์ในเรื่องความโดดเด่นสะดุดตา สวยงาม คุ้มค่าสมราคา สมฐานะของแบรนด์ และเลือกใช้บริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ ไม่เพียงแต่มีประสบการณ์ทำป้ายมานานเท่านั้น ความเข้าใจตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน บทความนี้ต้องการให้ ความรู้เรื่องป้ายและวัสดุทำป้าย แผ่นป้ายโฆษณา ต่าง ๆ ดังต่อต่อไปนี้
1. ป้ายซิงค์ (Zinc)
ป้ายซิงค์ (Zinc) คือ ป้ายสังกะสี หรือแผ่นเหล็กเคลือบสังกะสีด้วยกรรมวิธีไฟฟ้า จะมีความเหมาะสมสำหรับการใช้งานที่ต้องการความทนทานต่อการสึกกร่อนมากกว่าเหล็กแผ่นรีดเย็น นิยมนำมาใช้เป็นวัสดุหลักในการ ทำป้ายตัวอักษรหรือเป็นกล่องไฟ ฉลุลายตามแบบ เพราะซิงค์มี ราคาถูกและคุณสมบัติคล้ายกับเหล็ก หรืออลูมิเนียม สามารถในการขึ้นรูปและเลือกสีสันได้ตามต้องการ งานส่วนใหญ่นิยมทำสีทับลงบนแผ่นซิงค์เพื่อป้องกันสนิมและเพื่อความสวยงาม ป้ายซิงค์เหมาะกับงานป้ายแทบทุกประเภท เนื่องจากขึ้นรูปได้ง่าย ทนต่อสภาพอากาศ อาทิ ป้ายบริษัท ป้ายหน้าร้าน ป้ายโรงงาน ป้ายชื่อร้าน ป้ายร้านกาแฟ ป้ายร้านขายอาหาร ป้ายบริษัท ป้ายสำนักงานต่างๆ
ซิงค์นำมาทำป้ายได้หลากหลาย อาทิ ป้ายกล่องไฟซิงค์ หรือป้ายไฟซิงค์ นิยมตีเป็นกล่องยกขอบและทำสี การทำสีจะช่วยป้องกันการเกิดสนิม และปกปิดพื้นผิวของซิงค์ ช่วยให้การใช้งานคงทนมากยิ่งขึ้นและมีความสวยงามมากกว่าแบบเปลือย (ดูป้ายซิงค์เพิ่มเติม คลิ๊ก)
ป้ายซิงค์ไดคัทตัวอักษร ซิงค์ไดคัทลายตามแบบ ตัดด้วยเครื่อง Fiber Laser CNC PLASMA ตามแบบ แล้วนำมาบัดกรีประกอบเป็นตัวอักษร นิยมยกขอบตัวอักษรเพื่อเพิ่มมิติให้กับป้ายซิงค์ การยกขอบจะช่วยทำให้งานป้ายมีมิติมากยิ่งขึ้น สวยงาม หรูหรากว่าการทำเป็นตัวอักษร 2 มิติแบน ๆ สามารถเลือกความสูงของขอบได้ตามความเหมาะสมของขนาดป้ายหรือตัวอักษรโลหะ ถ้าตัวอักษรมีขนาดเล็กจะนิยมยกขอบไม่เกิน 2-3 เซนติเมตร หากป้ายหรือตัวอักษรมีขนาดใหญ่จะนิยมยกขอบประมาณ 5-10 เซนติเมตร อีกวิธีที่นิยมเช่นกันคือการยกลอย ป้ายซิงค์ยกลอยจะช่วยให้ป้ายมีมิติเช่นเดียวกับการยกขอบ ขายกลอยของซิงค์มี 2 แบบ คือขาตีนเป็ดและขาเพลา (ดูป้ายซิงค์ตัวอักษรเพิ่มเติม คลิ๊ก)
ขาแบบตีนเป็ด มีลักษณะเป็นขาตัวแอล (L) เวลาติดตั้งอาจเห็นในส่วนปลายยื่นออกมาจากตัวป้าย หรือตัวอักษร มีความแข็งแรง ทนทาน เหมาะทั้งงานภายนอกอาคาร และภายในอาคาร
ขาแบบเพลา มีความแข็งแรงทนทาน ใช้งานได้ทั้งภายนอกอาคารและภายในอาคารเช่นเดียวกับแบบตีนเป็ด ข้อดีของขาแบบเพลาคือจะเป็นแท่งกลม ๆ ไม่มีขายื่นออกมาจากตัวงาน
ป้ายซิงค์ฉลุลาย เป็นการนำ แผ่นซิงค์มาฉลุ เป็นลายตามแบบ ส่วนใหญ่นิยมใช้ แผ่นคอมโพสิท รองด้านหลังเพื่อความสวยงาม หรือหากพื้นผิวที่นำไปติดตั้งมีลวดลายสวยงาม หรืออยากโชว์ผิวผนังด้านหลังเช่น ลายหินอ่อน ลายกระเบื้อง ผนังสไตล์ลอฟท์ ก็ไม่จำเป็นต้องรองด้านหลัง
2. ป้ายสแตนเลส (Stainless Steel)
สแตนเลส คือ เหล็กกลุ่มที่มีความต้านทานการกัดกร่อน (เหล็กกล้าไร้สนิม) โดยมีโครเมี่ยมผสมอยู่อย่างน้อย 10.5% นอกจากนี้ยังมีการเติมธาตุผสมอื่นๆ เช่น นิกเกิล โมลิบดินัม ไททาเนียม เพื่อเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน นอกจากนี้สแตนเลสยังสามารถต้านทานต่ออุณภูมิสูงและต่ำ ง่ายต่อการประกอบขึ้นรูป และทำ ป้ายสแตนเลส ตัวอักษร
สแตนเลส มีสีให้เลือกมากมาย อาทิ สแตนเลสสีทอง บรอนซ์ เขียว เงิน และสีดำ มีทั้งผิวเรียบ สแตนเลสเงา และ สแตนเลสแฮร์ไลน์ ทำให้สามารถเลือกประยุกต์ใช้สแตนเลสได้ตามความต้องการได้อย่างมากมาย และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นที่นิยมในวงการทำป้ายบริษัท ป้ายอาคาร หรือป้ายโครงการต่าง ๆ สามารถไดคัทเป็นตัวอักษร แล้วนำมาประกอบได้อย่างสวยงาม เพิ่มความโดดเด่นให้กับป้ายได้ดียิ่งขึ้น มักจะโชว์ผิวเนื้อสแตนเลสเลยเนื่องจากสวยงามอยู่แล้ว ทั้งนี้แต่ก็ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญมากกว่า เพื่อถนอมชิ้นงานได้อย่างประณีตระหว่างประกอบชิ้นงาน (ดูสแตนเลสตัวอักษรเพิ่มเติม คลิ๊ก)
นอกจากป้ายสแตนเลสไดคัทลายตามแบบ ยังสามารถใช้เทคนิคการกัดกรดทำ ป้ายสแตนเลสกัดกรดลงสี ได้อีกด้วย วิธีนี้มักนิยมทำกับ ป้ายชื่อตำแหน่ง ป้ายบริษัท และป้ายสอด ป้ายหน้าห้อง ที่ขนาดไม่ใหญ่มาก สามารถกัดกรดเซาะลวดลายเป็นตัวหนังสือ และลายเส้นขนาดเล็กได้ถึง 1 มม. (ดูป้ายสแตนเลสกัดกรด คลิ๊ก)
3. ป้ายอลูมิเนียม (Aluminium)
อลูมิเนียมเป็นโลหะธรรมชาติ สามารถทนต่อการสึกกร่อน ทนความร้อนสูงและทำความสะอาดได้ง่าย ไม่เป็นสนิม มีความมันวาว สามารถชุบสีเพื่อเพิ่มความสวยงามได้ Aluminium มีน้ำหนักเบามาก ราคาไม่แพง ช่วยลดต้นทุนได้อย่างดีเยี่ยม แต่ถึงแม้ว่าอลูมิเนียมจะมีความแข็งแกร่งและทนทานมาก ก็มีจุดด้อยเช่นกัน นั่นก็คือ ไม่สามารถทนต่อการกัดกร่อนได้ โดยเฉพาะไอน้ำเค็มจากทะเลที่อาจทำให้เกิดการกัดกร่อนได้ง่าย นิยมนำมาใช้ทำป้ายโฆษณาแบบป้ายแผ่นเรียบ เนมเพลท กรอบป้ายไฟสำเร็จรูป ต่าง ๆ ที่มีหลากหลาย (ดูป้ายไฟกรอบอลูมิเนียม คลิ๊ก)
4. ป้ายอะคริลิค (PMMA Acrylic)
อะคริลิค เป็นพลาสติกที่มีความทนทาน และได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ชื่อเรียกที่ได้ยินบ่อยที่สุด ก็คือ อะคริลิคพลาสติก ป้ายพลาสติก หรือแผ่นอะคริลิค เป็นต้น อะคริลิคเป็นวัสดุที่มีความทนทานแข็งแรง ทนต่อแรงกระแทกได้ดีกว่ากระจก มีความหนาตั้งแต่ 2-20 มิลลิเมตร ขึ้นไป มีทั้งอะคริลิกโปร่งแสง อะคริลิกใส และอะคริลิกทึบ มีสีให้เลือกหลากหลาย จึงสามารถนำมาใช้งานได้อย่างหลากหลาย ตัวอย่างชิ้นงานจากอะคริลิค เช่น ป้าย อย. ป้ายบริษัท ป้ายโฆษณาอะคริลิค ป้ายสัญลักษณ์อะคริลิค ป้ายโลโก้อะคริลิค กรอบรูป และชั้นวางโชว์ เป็นต้น งานจากป้ายอะคริลิคพลาสติก สามารถทำได้ทั้งไดคัท ฉลุลาย ติดสติ๊กเกอร์ และพิมพ์สกรีน UV Curable (ดูป้ายอะคริลิกเพิ่มเติม คลิ๊ก)
อีกเทคนิคที่อะคริลิกสามารถทำได้ คือ อะคริลิกไดคัทตัวอักษรนูน สามารถเลือกใช้สีของอะคริลกได้เลย หรือจะทำสีพิเศษ เช่น สีทอง สีเงิน เป็นต้น มักใช้ทำป้ายหัวไมค์อะคริลิก ป้ายชื่อบริษัท ป้ายร้านค้าทั่วไป (ดูป้ายอะคริลิกตัวนูนเพิ่มเติม คลิ๊ก)
4. ป้ายไฟ (Light box)
ป้ายไฟ ป้ายกล่องไฟ หรือป้ายไฟตัวอักษร เป็นป้ายที่นำเอาวัสดุทำป้ายข้างต้นมาประยุกต์รวมกัน สามารถทำได้หลากหลายเทคนิค นิยมใช้ทำป้ายไฟร้านค้า ป้ายบริษัท ป้ายอาคาร ป้ายทาวเวอร์ ป้ายบนตึกสูง เป็นต้น ซึ่งเทคนิคและวัสดุป้ายจะเลือกใช้ตามขนาดพื้นที่ วัสดุพื้นหลังในการยึดติด งบประมาณ และระยะเวลาในการใช้งาน ตัวอย่างเช่น
4.1 ป้ายไฟ LED ป้ายไฟตัวอักษร ป้ายโลโก้ ตัวป้ายนิยมใช้เป็นโครงโลหะซิงค์เนื้อหนาคุณภาพดี สามารถเสริมลูกเล่นเป็นวัสดุอื่นได้อีกอาทิ อะคริลิค พลาสวูด รองหลังด้วยป้ายคอมโพสิท ป้ายสว่างด้วยระบบไฟ LED Module 2835/3030 ประหยัดไฟ สามารถทำได้ทั้งไฟออกหน้า ไฟออก ข้าง และไฟรองหลัง (ดูป้ายไฟตัวอักษรเพิ่มเติมคลิ๊ก)
5. กระจก (Glass)
กระจกสามารถนำมาใช้งานเป็นวัสดุทำป้ายได้เช่นกัน เหมาะกับงานที่ต้องการความเนี้ยบ เรียบหรู เทคนิคที่นิยมคือนำแผ่นกระจกตัดมาเจียรแล้วพ่นทราย กัดกรด หรือติดสติกเกอร์ตามรูปแบบที่ต้องการ ถ้าเล่นซ่อนไฟด้วยจะได้ Effect เรืองแสงได้สวยงาม เป็นป้ายกระจกกัดกรดเซาะร่องลงสี ป้ายกระจกฟิล์มปริ้นลายตามแบบ ตามต้องการ
หรือจะเป็นงานป้ายกระจกเคลือบสีลงบนผิวกระจกด้วยเป็นสีชนิดพิเศษ ที่ยึดติดแน่นเป็นเนื้อเดียวกับกระจก ไม่หลุดลอก หรือกะเทาะ ทนต่อความร้อน ความชื้น และรังสี UV สีจึงไม่ซีดจาง สามารถเพิ่มลูกเล่นการสกรีน graphic ลงแผ่นกระจกเป็นลวดลาย ตัวอักษร หรือโลโก้ ต่าง ๆ ได้ (ดูงานพิมพ์สกรีน UV Curable คลิ๊ก)
6. ป้ายพลาสวูด (Plastwood)
แผ่นพลาสวูด แผ่นเรียบอเนกประสงค์ เป็นผลิตภัณฑ์ PVC Foam Sheet ที่มีคุณภาพสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้ทดแทนการใช้ไม้ธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติที่เหนือกว่าไม้ธรรมชาติ ไม่ดูดซึมความชึ้น จึงไม่เกิดปัญหาบวมน้ำ ทนทานต่อสภาพอากาศได้ดี ทนความร้อน และทนต่อสภาพกลางแจ้ง เป็นฉนวนกันความร้อน กันเสียง ไม่เป็นเชื้อไฟต้านทานสารเคมีหลายชนิดอีกด้วย ป้ายพลาสวูดสามารถทำเป็นป้ายแผ่นเรียบรีดติดสติ๊กเกอร์ ป้ายพลาสวูดพิมพ์สกรีนยูวี เป็นแผ่นป้ายโฆษณา และไดคัทตัวอักษรได้ ราคาถูก (ดูป้ายพลาสวูดติดสติ๊กเกอร์ สกรีนยูวี คลิ๊ก)
ป้ายพลาสวูดไดคัททำสี ป้ายพลาสวูดไดคัททำสี เหมาะกับทำป้ายชื่อ ป้ายร้าน ป้ายบริษัท สามารถทำได้ทั้งงานภายในและภายนอกอาคาร เนื่องจากพลาสวูดมีหลายความหนา ทำให้สามารถเลือกความนูนของตัวอักษรได้ (ดูพลาสวูดตัวอักษรนูน คลิ๊ก)
7. ป้ายไวนิล (Vinyl)
เมื่อนึกถึง วัสดุทำป้าย แผ่นป้ายโฆษณา แน่นอนว่าไวนิลแทบจะเรียกได้ว่าเป็น ป้ายโฆษณาที่นิยมสูงสุด ตลอดการ ด้วยความคุ้มค่าของราคาที่เทียบต่อขนาดเป็นตารางเมตรแล้ว มีลักษณะเป็นเนื้อ พลาสติกพีวีซี รีดอัดด้วยเส้นใยตาข่ายเพิ่มความแข็งแรงมีสีขาวหลากหลายเฉด นำไปพิมพ์อิงค์เจ็ทตามแบบที่ต้องการ ราคาไม่แพงและทนทานได้ดีต่อสภาพอากาศ ป้ายไวนิลมีหลากหลายเกรดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของอายุการใช้งานได้ตั้งแต่ 1-2 เดือน ไปถึง 3-5 ปี สามารถประยุกต์ใช้ทำป้ายได้หลากหลาย อาทิ ป้ายโลโก้ หรือป้ายแบนเนอร์โฆษณาหน้าร้าน ป้ายคัทเอ้าท์ขนาดกลาง ป้ายกองโจร ป้ายหาเสียง ป้ายเฉลิมพระเกียรติ ป้ายหน้าโครงการอสังหาริมทรัพย์ ไปจนถึงป้ายบิลบอร์ดทางด่วนขนาดใหญ่ ได้เลย ลูกเล่นเรื่องขนาดไม่ใช่ข้อจำกัด นอกจากนี้ก็ยังมีสเปคปลีกย่อยไปอีกหลากหลาย เช่น ไวนิลโปร่งแสงสำหรับงานป้ายไฟ ไวนิลบล็อคแสง ไวนิลตาข่าย เป็นต้น ประเภทการใช้งานที่แตกต่างกันไปสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่บทความเรื่องความรู้เรื่องป้ายไวนิล เพื่อให้เราได้เลือกใช้วัสดุหรือเกรดป้ายไวนิลให้เหมาะสมกับงานและจุดที่จะติดป้ายไวนิล (ดูป้ายไวนิลเพิ่มเติม คลิ๊ก)
นอกจากทำป้ายโฆษณา หรือป้ายโปรโมชั่นแล้ว ป้ายไวนิลยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสื่อส่งเสริมการตลาดอื่น ๆ ได้ ที่พบเห็นทั่วไป เช่น ป้ายธงญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นป้ายโฆษณาสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง นิยมใช้ในการตกแต่งหรือโฆษณาประชาสัมพันธ์ใช้ได้ทุกโอกาส มีขาตั้งแบบโครงเหล็ก และขาปูน นิยมนำไปจัดอีเว้นท์ และตั้งหน้าร้าน เช่น คลินิก ร้านกาแฟ ร้านอาหาร (ดูป้ายธงญี่ปุ่นเพิ่มเติม คลิ๊ก)
8. ป้ายพีพีบอร์ด (PP Board)
แผ่นพีพีบอร์ดหรือเป็นที่รู้จักว่าในชื่อว่า แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด เป็นแผ่นพลาสติกมีลอนลักษณะคล้ายกับกระดาษลูกฟูก มีชื่อเรียกอีกอาทิ พลาสติกลูกฟูก (corrugated plastic) หรือ แผ่นโพลีโพรพีลีน (polypropylene sheet) เป็นวัสดุน้ำหนักเบาที่สามารถตัดและนำมาใช้ในงานได้หลากหลาย เหมาะใช้ทำ ป้ายชั่วคราว ทำแผ่นป้ายโฆษณา โปรโมชั่นการตลาด หรือป้ายอีเว้นท์ ป้ายนิทรรศการ สแตนดี้ ป้ายตั้งฟิวเจอร์บอร์ด ป้ายเชียร์ ป้ายคำพูด ป้ายพร๊อพ เป็นต้น โดยจะเป็นการผสมผสานงานสติ๊กเกอร์พิมพ์ Inkjet แล้วมารีดลงที่แผ่นพีพีบอร์ดหรือใช้เทคนิคพิมพ์สกรีนยูวีลงแผ่นเลยก็ได้ งานปริ้น Inkjet อาจจะต้องมีการเลือกเกรดของสติ๊กเกอร์และหมึกอีกหน่อยเพื่อให้เหมาะสมว่าจะเป็นงานภายใน Indoor ไม่โดนแดด ความชื้น หรือเป็นงานปริ้น Inkjet สำหรับภายนอก Outdoor ที่ทนทานกับสภาพอากาศมากกว่า (ดูป้ายฟิวเจอร์บอร์ดเพิ่มเติม คลิ๊ก)
นอกจากป้ายฟิวเจอร์บอร์ดแผ่นเรียบติดสติ๊กเกอร์หรือพิมพ์ยูวีแล้ว ยังสามารถนำป้ายฟิวเจอบอร์ดมาไดคัท ตัดประกอบเป็นสื่อส่งเสริมการตลาดแบบอื่น ๆ ได้ เช่น ป้ายสแตนดี้ (ดูป้ายสแตนดี้เพิ่มเติม คลิ๊ก) ป้ายพร็อพ ป้ายถือถ่ายรูป ป้ายเต้นท์การ์ด ป้ายทรูป เป็นต้น (ดูป้ายพร็อพเพิ่มเติม คลิ๊ก)
9. ป้ายโฟมบอร์ด (Foam Board)
ป้ายโฟมบอร์ด ส่วนใหญ่ที่พบเห็นมักจะทำเป็น ป้ายคำพูด ป้ายพร็อพ ป้ายถือ ป้ายเชียร์ ป้ายพรีเซนต์งาน ป้ายงานแต่งงาน มีน้ำหนักเบาเหมือนกับฟิวเจอร์บอร์ด แตกต่างตรงที่ป้ายฟิวเจอร์บอร์ดเนื้อเป็นลอน ส่วนป้ายโฟมบอร์ดเป็นเนื้อโฟมอัดแน่น ผิวละเอียด เรียบ สามารถตัดไดคัทตามรูปแบบต่าง ๆ และติดตั้งง่าย ป้ายโฟมบอร์ดทำได้ทั้งรีดติดสติ๊กเกอร์ ทำสีและพิมพ์สกรีนยูวี (ดูป้ายโฟมบอร์ดเพิ่มเติม คลิ๊ก)
10. ป้ายไม้ (Natural Wood)
ไม้คือวัสดุทำป้ายสุดคลาสสิกที่มีสเน่ห์สวยงามในรูปแบบของมันเอง มีความเชื่อในความเป็นป้ายไม้มงคล นิยมทำด้วยไม้ประดู่ ไม้สัก ไม้แดง ไม้ชิงชัน ไม้มะค่า ทรงตามธรรมชาติหรือจะตัดทรงตามแบบก็ทำได้หลากหลาย โดยใช้เทคนิคฉลุตัวอักษรจากไม้แล้วสีกับพื้นหลังให้เห็นตัวอักษรชัดเจน เทคนิคแกะสลักอักษรนูน เคลือบใสโชว์ลายไม้ลงสีในร่องไม้ ให้ความวาว เวลาตั้งกลางเเจ้งสามารถเห็นได้ชัดเเละยังคงทนอีกด้วย หรืออาจจะไปเล่นประสมกับงานเหล็กก็เพิ่มความเท่คลาสสิคได้ เคลือบด้วยสีด้านใส ดูธรรมดาๆแต่ไม่ล่าสมัย ป้ายไม้แกะสลักเหมาะใช้ทำป้ายบริษัท ป้ายเลขที่บ้าน ป้ายบริษัท ป้ายร้านกาแฟ ป้ายรีสอร์ท ป้ายวัด ป้ายศูนย์ปฏิบัติธรรม ป้ายโครงการเกษตร ป้ายไร่ ป้ายสวย ป้ายวินเทจ เป็นต้น นอกจากนี้สามารถนำเครื่องพิมพ์ Inkjet มาประยุกต์ในการพิมพ์สกรีนลงไม้ได้โดยตรง (พิมพ์ยูวี) ได้ความสวยงามประยุกต์ไปอีกแบบ
11. ป้ายหินหรือกระเบื้อง (Stones & Tiles)
มักจะได้รับความนิยมอย่างมากเพื่อใช้ในการตกแต่งสถานที่ ห้อง อาคาร ซึ่งมักให้ความรู้สึกที่มั่นคงยิ่งใหญ่โอ่อ่า "สง่า" "ขลัง" "ยั่งยืน" ป้ายกัดกรดที่เห็นกันบ่อย ๆ คือบรรดาตราสัญลักษณ์ โลโก้ ข้อความอักษร ซึ่งมักเห็นถูกติดตั้งในสถานที่ราชการ หน่วยงานราชการ ศูนย์ราชการ กระทรวง ทบวง กรม กอง สถานศึกษา สถาบัน สำนักงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรขนาดใหญ่ โรงเรียน วัด เป็นต้น ป้ายหินหรือป้ายกระเบื้องมักใช้เทคนิคการกัดกรดลงสี เป็นตราสัญลักษณ์อักษรข้อความลงสีทอง เงิน เป็นต้น
12. สติ๊กเกอร์ (Adhesive Vinyl aka Sticker)
สติ๊กเกอร์ คือนิยามง่าย ๆ ของแผ่นพลาสติกบาง ๆ ที่มีกาวสามารถลอกไปติดกับพื้นผิวได้อย่างหลากหลาย กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อทำป้าย ทำสื่อโฆษณา สติ๊กเกอร์สามารถทำมาจากหลากหลายเนื้อพลาสติก อาทิ PVC, PP, PET เป็นต้น แล้วแต่วัตถุประสงค์แตกต่างกันไป นิยมเพื่อการทำป้าย PVC จะมีความนิยมสูงเนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีในการยืดหยุ่น สามารถยึดติดกับพื้นผิวได้หลากหลาย ทั้งแบบผิวเรียบ โค้งงอ ขรุขระ สามารถพิมพ์สติ๊กเกอร์มีลวดลายได้ตามดีไซน์ เหมาะนำมาใช้รีดบนวัสดุแข็งเพื่อทำป้ายถาวร อาทิ แผ่นซิงค์ สแตนเลส อะคริลิค ได้ หรืออาจจะทำไปใช้เพื่อการตกแต่งผนัง ติดกระจก หรือแรพรถก็ได้เช่นกัน สวยงามทนทานได้ดีถ้าเลือกใช้เกรดสติกเกอร์หรือหมึกพิมพ์ inkjet ที่มีคุณภาพ ก็ทนทานใช้งานได้ยาวนานเลยทีเดียว สติ๊กเกอร์เป็นหนึ่งในวัสดุที่มีความนิยมมากในการทำป้ายในปัจจุบัน ตัวอย่างสติ๊กเกอร์ที่นิยมใช้ ดังนี้
- สติ๊กเกอร์ PVC ขาวเรียบ หรือสติ๊กเกอร์สี ยี่ห้อที่เป็นที่นิยม อาทิ 3M, Mactac, Avery นิยมนำมาพิมพ์ลาย หรือไดคัทไปติดตกแต่งพื้นผิวต่าง ๆ สามารถทำได้ทั้งสติ๊กเกอร์ติดรถ (ดูตัวอย่าง คลิ๊ก) สติ๊กเกอร์แรพอุปกรณ์ (ดูตัวอย่าง คลิ๊ก) สติ๊กเกอร์ติดผนัง (ดูตัวอย่าง คลิ๊ก)
- สติ๊กเกอร์ฝ้า มีลักษณะเป็นฝ้าขุ่น นิยมนำไปติดตกแต่งกระจก แบ่งส่วนกั้นห้องออฟฟิศ และบดบังสายตาคนภายนอก มีหลากหลายแบบ สติกเกอร์ฝ้าขุ่น ฝ้าเรียบ ฝ้ามุก มีประกายกากเพชร เป็นต้น สามารถทำได้ทั้งไดคัทลวดลาย และพิมพ์ลายตามที่ต้องการ (ดูสติ๊กเกอร์ฝ้าเพิ่มเติม คลิ๊ก)
ตัวอย่างงานประยุกต์ใช้สติ๊กเกอร์ติดอาทิ งานแรพรถ สติ๊กเกอร์ติดรถ โฆษณาติดรถ ฟิล์มฝ้าหรือสติ๊กเกอร์ฝ้าแต่งกระจกอาคาร สติ๊กเกอร์ติดผนัง วอลสติ๊กเกอร์ หรือวอลเปเปอร์ สติ๊กเกอร์ฉลากสินค้า สติ๊กเกอร์ติดผนังปูน สติ๊กเกอร์ซีทรู สติ๊กเกอร์เรืองแสงพรายน้ำ สติ๊กเกอร์สุญญากาศ สติ๊กเกอร์สะท้อนแสง สติ๊กเกอร์โฮโลแกรม แต่อีกมากมาย ทั้งนี้สติ๊กเกอร์แต่ละชนิดก็ยังมีคุณสมบัติย่อยอีกมากมาย รายละเอียดเกรดแยกย่อยต่าง ๆ ทั้งตัวเนื้อพลาสติก กาว เฉดสี ความยืดหยุ่นทนทานที่มีให้เลือกอีกมากมาย เราควรทำความเข้าใจโจทย์การนำไปใช้งานเสียก่อนว่าเราจะนำสติ๊กเกอร์ไปติดกับสภาพผิวแบบใด หรือมีความต้องการเรื่องความทนทานในการใช้งานแค่ไหนเพื่อให้สามารถเลือกประเภทสติ๊กเกอร์นำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับงบประมาณ
13. กระดาษ (Paper)
กระดาษเป็นอีกทางเลือกที่ดีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นป้ายโฆษณาแบบระยะสั้นได้ ราคาประหยัด ทำเท่ ๆ มีดีไซน์ได้หลากหลาย มีทั้งโปสเตอร์ขนาดใหญ่พิมพ์ด้วยระบบะ Inkjet หรือถ้าเล็กลงมาไม่เกิน 28 x 40 นิ้ว ก็สามารถใช้เป็นระบบ Offset ได้ถ้าเป็นการพิมพ์จำนวนมาก ๆ
ทางเลือกใหม่ที่เรียกว่า Digital Print on Demand ก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้น เหมาะกับธุรกิจ SME หรือในกรณีที่ต้องการรัน Campaign ไม่ใหญ่ พิมพ์จำนวนน้อย ๆ ได้ในราคาไม่แพง
งานประยุกต์ทำสื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์จากกระดาษ อาทิ พิมพ์ ใบปลิว โบรชัวร์ โปสเตอร์ แผ่นพับ ไปจนถึงการนำกระดาษลูกฟูกมาตัดฉลุลาย ปริ้นลวดลายลงไป สำหรับนำไปใช้แจกประชาสัมพันธ์ หรือจัดโปรโมชั่น จัดงานอีเว้นท์ งานนิทรรศการ สัมมนาระยะสั้นที่ไม่ต้องการใช้วัสดุแข็งแรงถาวรเกินไป เพื่อให้งานประหยัดคุ้มค่ามากขึ้น
หรือนำกระดาษไปประกอบจัดทำเป็นกรอบปกแข็งซ่อน Tablet ไว้ด้านใน เป็น Brochure Video แบบใหม่แปลกตามาสีสันในการนำเสนอได้อีกด้วย
14.อุปกรณ์ออกบูธสำเร็จรูป
ตัวอย่างป้ายประเภทสุดท้ายนี้ เป็นการผสมผสานงานพิมพ์ผ้า ไวนิล หรือสติกเกอร์ เพื่อนำมาประกอบกับโครงฉากเหล็ก เฟรมอลูมิเนียม ออกมาเป็นอุปกรณ์จัดบูธ อุปกรณ์จัดนิทรรศการที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับงานจัดงาน Trade Show Exhibition งานสัมมนา อีเว้นท์ที่ต้องการความสะดวกในการเคลื่อนย้ายคล่องตัวมากกว่าลักษณะตัวอย่างงานป้ายในหัวข้อก่อนหน้านี้ที่มักเป็นลักษณะป้ายติดถาวร
อุปกรณ์จัดบูธ เหล่านี้จะพับเก็บง่าย น้ำหนักเบา มีการดีไซน์ระบบจัดเก็บ กางติดตั้งมาเป็นระบบอย่างดี โดยมักจะเป็นสินค้าอุปกรณ์สำเร็จรูปนำเข้า จึงต้องเลือกตัวแทนจำหน่ายที่มีประสบการณ์เข้าใจเลือกสรรวัสดุมาแล้วเป็นอย่างดี จะได้มั่นใจว่าแข็งแรงไม่บอบบางเมื่อใช้งานไปสักระยะนึง ส่วนประกอบย่อยของอุปกรณ์จัดบูธสำเร็จรูปเหล่านี้ จะมีตัวอย่าง อาทิ แบคดรอป ฉากถ่ายรูป บอร์ดนิทรรศการ ป้ายตั้ง โรลอัพ ป้ายสแตน ชั้นวางโบรชัวร์ บูธชงชิม โต๊ะเคาน์เตอร์ เป็นต้น โดยอาจจะมีระบบไฟ เป็นฉากแบคดรอปแบบมีไฟ ป้ายไฟตั้ง LED เป็นลูกเล่นเพิ่มเติมให้สะดุดตาได้
งานพิมพ์ประกอบชุดจัดบูธ ก็สามารถเป็นแบบงานพิมพ์ Inkjet พิมพ์ป้ายไวนิล ปริ้นสติ๊กเกอร์ ปริ้นโปสเตอร์ หรือจะเป็นแบบใหม่ที่เริ่มนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ คืองานพิมพ์ผ้า ที่สวยงาม หรูหรากว่า ประกอบจัดเก็บง่ายกว่า