รู้จักกับระบบสี RGB และ CMYK รวมถึงวิธีการเลือกใช้งานเพื่อให้เหมาะกับงานออกแบบสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์

“สี” ในกราฟิก RGB vs CMYK ต่างกันอย่างไร

เรื่องของสีเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับนักออกแบบทั้งสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ ระบบใหญ่ ๆ ที่ควรรู้จักเลือกใช้งาน (RGB vs CMYK)

นั่นคือ ซึ่งนอกจากกราฟิกดีไซน์เนอร์จะต้องรู้จักการเลือกใช้สี โทน ไล่ระดับ ต้องทราบเทคนิคว่าสีไหนควรใช้ด้วยกัน ควรนำมาตัดกัน หรือสีไหนที่เป็นสีต้องห้าม ไม่ควรนำมาใช้ด้วยกันอย่างเด็ดขาด เพื่อให้งานที่ออกมาดูสวยงาม สะดุดตา ถูกใจลูกค้า และสิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่นักออกแบบมือใหม่จะต้องทราบก็คือเรื่องโหมดสี (Color Mode) 2 โหมดหลัก ๆ ที่ใช้ในงานสื่อออนไลน์และโหมดสีที่ใช้ในระบบงานพิมพ์ (ออฟเซต อิงค์เจ็ท ดิจิตอล) เป็นระบบสีที่ต่างกัน วันนี้เราจึงจะพาคุณไปรู้จักกับระบบสี RGB และ CMYK รวมถึงวิธีการเลือกใช้งานเพื่อให้เหมาะกับงานออกแบบด้านต่าง ๆ กัน

 

Color Mode RGB CMYK แตกต่างกันอย่างไร กำหนด ออกแบบกราฟิก ให้พิมพ์สวย คมชัด

 

  1. RGB
  • สีหลักและการผสมสี สี RGB จะมีสีหลักอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 สี คือสีแดง (Red) เขียว (Green) และน้ำเงิน (Blue)  หลักการผสมสีจะเป็นการผสมสีแบบบวกคือการเพิ่มสีอื่นเข้าไปจนเกิดเป็นสีใหม่ ๆ ที่แสดงผลให้เราเห็นในหน้าจอมอนิเตอร์ ซึ่งเมื่อผสมสีและไล่ระดับความสว่างของสีด้วยหน้าจอมินิเตอร์ออกมาเรียบร้อยแล้วจะมีสีให้เลือกทั้งสิ้น 16,777,216 สี
  • ข้อดีและข้อเสีย สี RGB  เป็นสีที่สามารถเลือกใช้งานได้ง่ายโดยเฉพาะการออกแบบสำหรับแสดงผลทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ สามารถเซฟไฟล์เพื่อนำไปใช้ในหน้าเว็บไซต์ได้ทันที และสามารถแปลงไฟล์เป็น CMYK สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์โปสเตอร์, ใบปลิว ได้ แต่สีที่ได้จะเพี้ยน และคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากไฟล์ RGB มักจะถูกลดทอนให้ไฟล์เล็กแสดงผลได้เร็วในหน้าจอ แต่มักละเอียดไม่พอไปใช้ในงานพิมพ์อิงค์เจ็ท งานพิมพ์ป้ายขนาดใหญ่แล้ว 
  • การใช้งาน ระบบสี RGB เป็นระบบสีที่เหมาะกับการใช้งานในสื่อออนไลน์และสื่อดิจิตอลต่าง ๆ ได้แก่ สื่อที่ใช้นำเสนอในหน้าจอมอนิเตอร์ จอโทรทัศน์ สมาร์ทโฟน ทั้งผ่านทางอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ หรือการเซฟไฟล์มาในรูปแบบของ CD และ DVD ไฟล์ต่าง ๆ
  1. CMYK
  • สีหลักและการผสมสี สี CMYK เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยสีหลักจำนวน 4 สี คือ สีฟ้าอมเขียวcyanสีแดงอมม่วง (magenta) สีเหลือง(yellow) และสีดำ (Black)  การผสมสีจะเป็นการผสมแบบลบ คือการดูดกลืนแสงที่สะท้อนจากวัตถุ ซึ่งสีบางส่วนจะถูกดูดกลืนไว้ และสีบางสีจะถูกสะท้อนออกมา ซึ่งเมื่อไล่ระดับสีโดยจุดเม็ดสีของเครื่องพิมพ์ออกมาเรียบร้อยแล้วจะมีสีที่เกิดขึ้นให้เลือกทั้งหมด 1 ล้านสี เป็นเปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ 0-100 ไล่จากสีขาวไปจนถึงสีดำ
  • ข้อดีและข้อเสีย เป็นสีที่มีความคมชัดสูงโดยเฉพาะเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับงานพิมพ์ และการออกแบบส่งโรงพิมพ์ต่าง ๆ แต่ต้องเลือกกระดาษที่นำมาใช้พิมพ์ให้เหมาะสม ไม่เช่นนั้นสีที่ได้จะทึบและไม่สวยงามเท่าที่ควร รวมถึงหมึกพิมพ์ชนิดนี้จะมีราคาค่อนข้างสูง
  • การใช้งาน ระบบสี CMYK เป็นระบบสีที่เหมาะสำหรับงานพิมพ์ ได้แก่ โปสเตอร์, ใบปลิว, ป้ายไวนิลป้ายบิลบอร์ด, แมกกาซีน, นามบัตร, แผ่นพับ, โบรชัวร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดต่าง ๆ

 

 

 Color Mode RGB CMYK แตกต่างกันอย่างไร กำหนด ออกแบบกราฟิก ให้พิมพ์สวย คมชัด

เมื่อเห็นเปรียบเทียบรูปเดียวกันซ้ายกับขวา จะเห็นได้ว่าสีสด ๆ จี๊ด ๆ จะแสดงผลได้ดีเมื่อเราเลือกใช้ RGB Mode ส่วนสีทางขวาซึ่งเป็น CMYK จะแสดงผลให้ใกล้เคียงความเป็นจริง ๆ ของงานพิมพ์มากที่สุด 

 Color Mode RGB CMYK แตกต่างกันอย่างไร กำหนด ออกแบบกราฟิก ให้พิมพ์สวย คมชัด

 

 

 RGB CMYK Gamut ขอบเขตของสี แตกต่างกันอย่างไร กำหนด ออกแบบกราฟิก ให้พิมพ์สวย คมชัด

โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังทำงานในโหมด CMYK นั้น เราอาจจะต้องระวังการเลือกใช้สีมากขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นแล้วเราอาจจะกำลังใช้สีที่ไม่ได้พิมพ์ได้จริง เมื่อดูจากจออาจจะดู Artwork เราสวยงามแต่ทำไมพิมพ์ออกหม่นเพี้ยนตุ่นหมอง นั่นก็เป็นเพราะว่าเรายังไม่ได้ดูเรื่องขอบเขตของสีที่พิมพ์ได้ให้ดีพอ (CMYK Gamut) ใน Illustrator Photoshop จะมี Function เตือนเรื่อง Gamut อยู่แล้ว เราก็สามารถนำมาใช้ช่วยเราได้





กล่าวโดยสรุปคือโหมด RGB เหมาะสำหรับทำกราฟิกออกแบบแบนเนอร์ใช้งานแสดงผลที่จอคอมพิวเตอร์ จอมือถือ โดยมักจะเน้นให้ไฟล์เล็กกระชับสีสวยสด ใช้ความละเอียดที่ 72 DPI ขึ้นไปเซฟไฟล์เป็น JPEG, PNG, GIF, smallest file PDF ขนาดเล็ก ๆ เพื่อให้โหลดไม่เปลืองค่าเน็ต โหลดได้เร็ว

ส่วนโหมด CMYK เหมาะสำหรับทำกราฟิกใช้แสดงผลผ่านงานพิมพ์ โดยเน้นที่ไฟล์ใหญ่ละเอียด คมชัด สีสันตรงตามโปรไฟล์ที่กำหนด ใช้ความละเอียดที่ 300DPI ขึ้นไป เซฟไฟล์เป็น AI, PSD, EPS, TIF, Highest Quality PDF ขนาดใหญ่ที่ไม่ลดทอนคุณภาพ เพื่อให้รายละเอียดแบนเนอร์ออกมาครบถ้วนที่สุด

ถ้าเราเอาไปใช้สลับกัน ไฟล์ดูจอก็จะใหญ่หนักสีตุ่นไม่สวย ไฟล์พิมพ์ก็จะแตกสีเพี้ยน

ดังนั้นเมื่อทราบความแตกต่างของระบบสีกัน 2 ระบบแล้ว เชื่อว่านักออกแบบคงจะทราบวิธีการเลือกระบบสีเพื่อให้เหมาะกับงานและปิดงานในขั้นตอนสุดท้ายได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักออกแบบ Artwork สำหรับพิมพ์โปสเตอร์, ใบปลิว, ป้ายไวนิล ที่ต้องส่งโรงพิมพ์ควรตั้งค่าสีเป็นระบบ CMYK ไว้ตั้งแต่แรกเพื่อป้องกันสีผิดเพี้ยนและเพื่อให้ได้งานออกมามีคุณภาพสูง ถูกใจลูกค้า วิธีการเซตตั้งค่าเมื่อเปิดไฟล์ใหม่ใน Adobe Photoshopo หรือ Adobe Illustrator ให้เลือกโหมดให้ถูกต้องได้เลยจาก Properties ตามภาพ

Color Mode RGB CMYK แตกต่างกันอย่างไร กำหนด ออกแบบกราฟิก ให้พิมพ์สวย คมชัด
Color Mode RGB CMYK แตกต่างกันอย่างไร กำหนด ออกแบบกราฟิก ให้พิมพ์สวย คมชัด

 

นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่ออกงานพิมพ์ที่มีองค์ประกอบเป็นสีดำใน Artwork ที่ออกแบบเยอะนั้น แนะนำให้ระวังอย่างมากเพื่อป้องกันปัญหาสีดำเพี้ยน อ่านต่อ

 

ติดต่อ ร้านทำ Sticker รับพิมพ์สติกเกอร์ ราคาถูก คุณภาพดี ทนทาน สีไม่ซีด

 

รับออกแบบกราฟิก ตรวจสอบแก้ไขไฟล์งานของท่านให้สีสด คนชัดสวยงาม ดูแลได้ทั้งงาน Digital Ad (RGB) และงาน Print Ad (CMYK) ติดต่อได้เลย บริษัท ออคโทพุส มีเดีย โซลูชันส์ มั่นใจเราได้เพราะคือ "ทีมการตลาดของคุณ" 081-776-8329 หรือ LINE ID: @OctopusDesign

ติดตามชมผลงานของแต่ละแผนกของบริษัทเราได้ที่ fb.com/OctopusMediaSolutions

กลับไปยังบล็อก