ประเภทไฟล์ที่ใช้ในงานกราฟฟิกต่างกันอย่างไร ai psd pdf tiff jpg
แชร์
ไฟล์กราฟฟิกแต่ละประเภท แตกต่างกันอย่างไร
ข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ จะมีการจัดแบ่งข้อมูลแต่ละประเภทออกเป็นสัดเป็นส่วน ซึ่งสิ่งที่จะคัดแยกไฟล์ให้ง่ายต่อการเรียกใช้งานแต่ละประเภทก็คือ File Format หรือ File Extension (ประเภทของไฟล์หรือนามสกุลของไฟล์) ที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ทั้งที่เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Windows หรือว่า Mac วิธีการดูชนิดของไฟล์แต่ละประเภทคือ เครื่องหมายจุด “.” และตามด้วยอักษร 2-4 ตัว ซึ่งเป็นสกุลของไฟล์ที่เราใช้สังเกตุในการประเภท
การ Save ไฟล์หรือ Compression หมายถึงอะไร
หากคุณเป็นคนทีทำงานเกี่ยวกับด้านกราฟฟิก จะต้องคุ้นเคยกับคำนี้ดี โดย Compression คือการบีบอัดไฟล์งานแต่ละชนิด (ไฟล์ภาพ,ไฟล์วิดีโอ) หลังจากที่ทำการตัดต่อเรียบร้อยแล้ว ในการบีบอัดไฟล์หรือ เซฟไฟล์ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
- Lossy compression คือการ เซฟไฟล์ โดยการบีบขนาดไฟล์ให้เล็กลงกว่าขนาดเดิม ซึ่งจะทำให้คุณภาพของไฟล์ลดลงจากเดิมด้วย เช่น คุณภาพของสี ความสว่าง และความคมชัด ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกการบีบอัดไฟล์ (Compression) แบบใด
- Lossless compression คือการ เซฟไฟล์ โดยที่ไม่มีการบีบอัดข้อมูลให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ทำให้ได้คุณภาพของไฟล์เหมือนกับของเดิมทุกอย่าง แต่ถ้าหากมีข้อมูลในไฟล์เยอะ ก็จะทำให้ขนาดของไฟล์ใหญ่ขึ้นไปด้วย
ไฟล์กราฟฟิกแต่ละประเภท แตกต่างกันอย่างไร
หากคุณต้องการทำงานเกี่ยวกับด้านกราฟฟิก การทำความรู้จักเกี่ยวกับไฟล์งานกราฟฟิกแต่ละประเภท คือสิ่งที่สำคัญ เพราะเวลาที่เอาไปใช้งาน จะได้เลือกได้อย่างถูกต้อง หากเลือกผิด ก็อาจจะทำให้งานที่ได้ออกมาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร ไฟล์ที่ใช้ในงานกราฟฟิกที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้
1.AI
จะใช้นามสกุลของไฟล์คือ .ai ซึ่งเป็นนามสกุลไฟล์ที่ได้จากโปรแกรม Adobe Illustrator เป็นการเซฟไฟล์แบบ Vector ซึ่งจะทำให้มีขนาดเล็ก ส่วนไฟล์จะใหญ่ขึ้นหรือว่าเล็กลงนั้น ขึ้นอยู่กับการเพิ่มไฟล์เข้าไป ถ้าหากเป็นการ place ภาพเข้าไปวางโดยตรง ก็จะทำให้ไฟลมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น แต่ถ้าเป็นการเพิ่มไฟล์รูปภาพโดยใช้ Link ก็จะทำให้ไฟล์มีขนาดที่เล็กกว่า แต่ไฟล์ .ai ของโปรแกรม Adobe Illustrator ไม่สามารถนำไปพิมพ์ได้ หากต้องการใช้งาน จะต้องมีการ save ไฟล์เป็นไฟล์ชนิดอื่นก่อน เช่น EPS หรือ PDF จึงจะใช้งานได้
2.EPS (Encapsulated PostScript)
จะใช้นามสกุลของไฟล์เป็น .eps เป็นไฟล์ที่มีข้อมูลทั้งแบบ Vector และ Bitmap โดยไฟล์ .esp จะแตกต่างจาก .ai ของโปรแกรม Adobe Illustrator ตรงที่เวลาที่ เซฟไฟล์ จะมีค่า Boundingbox บอกขนาดไฟล์เอาไว้ด้วย โดยไฟล์ esp เหมาะกับการส่งไฟพิมพ์ เพราะว่าไฟล์ Vector มีขนาดเล็กและสามารถขยายใหญ่ได้ตามขนาดความละเอียดสูงสุดของเครื่องพิมพ์
ข้อเสีย
- หากมีการ place รูป bitmap ร่วมกับ vector หากรูปไม่มีความละเอียดมากพอ เวลาที่ขยายขนาดรูปภาพ ก็จะทำให้รูปที่ขนายเบลอ
- ในการ เซฟไฟล์ ESP อาจจะใช้เวลานานถึง 1-2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับงานกราฟฟิกในไฟล์ และยังมีโอกาสที่จะทำให้เวลาที่พิมพ์ออกมาไม่ตรงกับหน้าจอที่เห็น
3.PDF (Portable Document Format)
จะใช้นามสกุล .pdf เป็นการ Save ไฟล์ที่มีข้อมูลจำเป็นต่างๆ ลงไปด้วย ทั้งฟอนต์ ข้อมูล Vector หรือรูปภาพที่เป็น Bitmap ทำให้เวลาที่พิมพ์ไม่ต้องกังวลเรื่องของ Font ไม่ตรง หรือว่ารูปที่ใส่ไปหาไม่เจอ และยังเป็นไฟล์ที่มีขนนาดเล็ก ทำให้เวลาที่ส่งพิมพ์มีความสะดวก
แต่ในการ เซฟไฟล์ ควรระวังในเรื่องของการตั้งค่า เพราะถ้าหากเลือกเป็นค่า Default จะทำให้ขนาดของภาพเล็กลงได้ ทำให้เสียคุณภาพของการพิมพ์
4.PSD (Photoshop Document)
จะใช้นามสกุลเป็น .psd ซึ่งใช้ในโปรแกรม Adobe Photoshop โดยในการ save ไฟล์เราสามารถ save ทุกอย่างที่ทำในโปรแกรมได้ทุกอย่าง และขนาดของไฟล์ก็จะเพิ่มขึ้นตามข้อมูลที่มีอยู่ในไฟล์ การใช้งานไฟล์ PSD ของโปรแกรม Adobe Photoshop นิยมใช้ในการเก็บงานกราฟฟิกที่เป็นไฟล์ต้นฉบับ เพราะสามารถเปิดและเรียกใช้งานได้ง่าย แต่ถ้าหากต้องการ save ไฟล์เพื่อส่งไปพิมพ์ จะต้อง save ไฟล์เป็น TIF 8-bits/Channel ก่อน
5.TIFF (Tagged Image File Format)
จะใช้นามสกุลไฟล์เป็น .TIF หรือ TIFF การ save ไฟล์ด้วยนามสกุลนี้ จะเป็นการ save แบบ Lossless compression คือไม่มีการเสียคุณภาพของไฟล์งาน โดยขนาดของไฟล์จะใหญ่ขึ้นตามขนาดของรูปภาพที่ใช้ เนื่องจากเป็นการ save ไฟล์แบบ pixel ต่อ pixel ถ้าหากไฟล์มีขนาดใหญ่มาก สามารถบีบไฟล์ให้เล็กลงได้ ด้วยการเลือก เซฟไฟล์ save ไฟล์แบบ LZW-compressed ซึ่งไฟล์จะมีขนาดที่เล็กลงกว่าเดิม แต่ว่าไม่เสียคุณภาพของไฟล์ไป
6.JPG (Joint Photographic Experts Group)
จะใช้เป็นนามสกุล .jpg หรือ .jpeg ซึ่งการ เซฟไฟล์ ชนิดนี้จะเป็นการ Save ที่เป็นแบบ Lossy compression คือไฟล์มีการสูญเสียคุณภาพของไฟล์นั่นเอง โดยไฟล์ jpg นิยมใช้งานในการส่งไฟล์ที่มีความรวดเร็ว สะดวกในการเปิดดู แต่ว่าคุณภาพของไฟล์จะด้อยลงเรื่อยๆ ทุกครั้งที่มีการเปิดและแก้ไข Save ใหม่ ดังนั้นหากได้รับไฟล์งานจากลูกค้ามาเป็น .jpg ควรมีการ save ไฟล์ใหม่ให้เป็น TIF หรือ PSD ในโปรแกรม Adobe Photoshop เสียก่อน เพื่อเก็บไว้ใช้งานได้สะดวก
จะเห็นว่าไฟล์แต่ละประเภทที่ได้บอกไปทั้งหมด จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน และการนำไปใช้งานก็แตกต่างกันด้วย ก่อนที่จะนำไฟล์กราฟฟิกไปใช้งาน จึงต้องมั่นใจว่าเราเลือกชนิดของไฟล์ได้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้คุณภาพไฟล์ต้องเสีย