corporate identity เอกลักษณ์ของแบรนด์ โลโก้แบรนด์ การเลือกใช้สีของแบรนด์ให้ตรง CI

Corporate Identity (CI) คืออะไร

Octopusmedia Admin

ท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน เอกลักษณ์ของแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญที่จะบอกให้รู้ว่าเราเป็นใคร และมีความแตกต่างจากเจ้าอื่นในตลาดอย่างไร Corporate Identity จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อช่วยสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ และช่วยให้แบรนด์สินค้าหรือองค์กรเป็นที่รู้จักและจดจำได้มากขึ้น

Corporate Identity คืออะไร

Corporate Identity หรือเรียกย่อ ๆ ว่า CI ซึ่งก็หมายถึงการออกแบบอัตลักษณ์ เพื่อให้อัตลักษณ์หรือลักษณะเฉพาะตัวของแบรนด์เป็นที่จดจำของผู้บริโภค ซึ่งลูกค้าจะสามารถรับรู้ได้ว่าภาพลักษณ์ ความคิด และรูปแบบของแบรนด์นั้น ๆ เป็นอย่างไร เปรียบเหมือนลักษณะเฉพาะตัวของคน ๆ หนึ่งที่ทำให้เราจดจำได้ ไม่ว่าจะเป็น เพศ รูปร่างหน้าตา บุคลิกลักษณะ รสนิยมความชอบ ซึ่งหลักในการออกแบบอัตลักษณ์ขององค์กรหรือแบรนด์สินค้านั้น ลำดับต้น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญคือ

Logo คือ โลโก้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่มีการออกแบบโดยใช้รูปภาพ สี หรือตัวอักษร เป็นสิ่งสร้างการสื่อสาร เพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์หรือองค์กร

Typography | Font คือ ฟอนต์ รูปแบบตัวอักษรที่เอามาใช้ในการออกแบบ โดยทั่วไปแล้วจะใช้อยู่ราว ๆ 2-3 Font ส่วนจะเลือกใช้ฟอนต์แบบไหน ขนาดใดนั้นก็แล้วแต่ประเภทของตัวหนังสือ

Color สีเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่จะช่วยให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคสามารถที่จะจดจำเครื่องหมายของสินค้าได้ง่ายขึ้น ซึ่งการเลือกใช้สีที่แตกต่างกันก็จะให้อารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป โดยหากเลือกใช้สีได้อย่างเหมาะสมก็ช่วยอัตลักษณ์ของแบรนด์เป็นที่รับรู้ได้มากขึ้น

 

ทำไมธุรกิจควรมี Corporate Identity

ท่ามกลางคู่แข่งทางธุรกิจมากมายในตลาด การสร้างอัตลักษณ์ขององค์กรหรือแบรนด์ หรือ การมี Corporate Identity จะทำให้คนทั่วไปหรือลูกค้าสามารถที่จะรับรู้ตัวตนของคุณได้อย่างชัดเจน และสร้างการจดจำให้กับผู้บริโภค ทำให้ธุรกิจของคุณมีความโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่ง ซึ่งก็อาจต้องอาศัยการทำการตลาดข้อมูลข่าวสารเข้ามาส่วน อย่างการ ออกแบบกราฟิก, illustrator, photoshop, การทำป้ายไวนิล, ป้ายบริษัท, ป้ายอะคริลิค หรืออื่น ๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณ 

พูดง่าย ๆ คือ CI สำคัญต่อทีมออกแบบ ก่อสร้าง กราฟิก การตลาด เพราะมันจะทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ง่าย ดูมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ชัดเจนขึ้น โดยสามารถนำไปประยุกต์สื่อสารออกไปได้หลากหลายประเภท   

Corporate Identity Framework อัตลักษณ์ขององค์กรหรือแบรนด์

 

ใครที่สามารถช่วยคุณได้ในการสร้างแบรนด์ ให้การนำเสนอออกไปได้ตรงตามอัตลักษณ์ Corporate Identity 

เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สื่อการตลาดของธุรกิจคุณเป็นแบรนด์ที่น่าจดจำ บริการด้านการออกแบบและผลิตสื่อโฆษณา ออคโทพุส มีเดีย โซลูชันส์ สามารถให้บริการคุณได้อย่างครบวงจร โดยเรามีบริการตั้งแต่เริ่มต้น ติดตั้ง เรามีทีมช่าง service จนเสร็จงาน ให้บริการด้านการออกแบบและผลิตสื่อโฆษณาทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสติ๊กเกอร์, สติ๊กเกอร์ติดรถ, สติ๊กเกอร์ติดกระจก, สติ๊กเกอร์ติดผนัง, สติ๊กเกอร์สูญญากาศ, ธงญี่ปุ่น, ป้ายญี่ปุ่น, อุปกรณ์ออกบูธ, roll up, standee, backdrop, รวมถึงการรับผลิตป้าย, POSM, POP Display, สื่อสิ่งพิมพ์การตลาดทุกชนิด ซึ่งเราก็เน้นที่การสร้างจุดขายเป็นสำคัญ และเรามีความเข้าใจโจทย์ลูกค้าเป็นอย่างดี จึงมั่นใจเมื่อใช้บริการของเราได้เลย

ตัวอย่างไฟล์ Brand Book หรือ Brand Guideline ที่ดี เพื่อให้เกิดความชัดเจนในตัว Corporate Identity และการสื่อสารที่ชัดเจนกับแบรนด์สามารถดูตัวอย่างได้ที่

อีกตัวอย่างที่น่าสนใจเป็น Reference ที่ดี (Cr. Imagination)

เครื่องหมายราชการกรุงเทพมหานคร สามารถใช้เป็น Guideline ได้

 

 

ตราสัญลักษณ์กรุงเทพฯ ในต้นฉบับจากราชกิจจานุเบกษา – ภาพจาก Farmgroup

“โลโก้ต้นฉบับอันเดียวที่มีอยู่คือที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ที่ทุกคนสามารถไปดูได้ว่า ‘นี่คือโลโก้กรุงเทพฯ’ ซึ่งไม่ได้เป็นไฟล์ แต่เป็นภาพในกระดาษที่ผ่านเวลาอาจจะหลัก 10 ปี เหมือนเขาสแกน หรือถ่ายรูปแล้วใส่ไว้ในเล่มนั้น ความคมชัดมันก็น้อย”

  1. โลโก้ต้นฉบับของกรุงเทพมหานครมีเพียงอันเดียว ที่จัดเก็บอยู่ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งเป็นภาพบนกระดาษที่ผ่านกาลเวลามานาน ทำให้มีความคมชัดน้อย
  2. การทำโลโก้ใหม่ เปรียบเสมือนการถ่ายภาพเดิม ด้วยกล้องรุ่นใหม่ที่ให้ความคมชัดมากขึ้น แต่อาจทำให้รายละเอียดบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป เช่น จากวงกลมกลายเป็นสี่เหลี่ยม
  3. โลโก้ดั้งเดิมนี้วาดโดย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (สมเด็จครู) เพื่อมอบเป็นของขวัญแด่รัชกาลที่ 6 ต่อมากรุงเทพมหานครได้นำมาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำเมือง
  4. การทำโลโก้เป็นไฟล์ดิจิทัลมีการปรับแต่งหลายครั้ง จนทำให้รายละเอียดของเครื่องประดับบางส่วนผิดเพี้ยนไป
  5. ข้อตกลงกับ กทม. คือการแก้ไขโลโก้ให้เหมือนภาพในราชกิจจานุเบกษามากที่สุด ไม่สามารถปรับเปลี่ยนรายละเอียดได้มากกว่านั้น
  6. การทำโลโก้ใหม่ครั้งนี้ใช้ต้นทางจากภาพวาดต้นฉบับของสมเด็จครูในพิพิธภัณฑ์วังคลองเตย และตราสัญลักษณ์ที่วาดโดยกรมศิลปากรในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มาศึกษาและสร้างสรรค์ขึ้นใหม่

เปรียบเทียบตัวอักษรเดิมจากตราสัญลักษณ์ต้นฉบับ กับตัวอักษร

ในตราสัญลักษณ์ที่ปรับปรุงให้ได้สัดส่วนแล้ว – ภาพจาก Farmgroup

จากตัวอักษรนริศ สู่แบบอักษรอัตลักษณ์ ‘เสาชิงช้า’

ฟอนต์อัตลักษณ์ของ กทม. ชื่อ "เสาชิงช้า (Sao Chingcha)" ออกแบบโดยทีม Farmgroup โดยมีต้นแบบมาจากตัวอักษรคำว่า "กรุงเทพมหานคร" บนตราสัญลักษณ์เดิม ซึ่งวาดขึ้นโดยกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ทีมงานได้ศึกษาลายมือและวิธีการเขียนอักษรแบบ "ตัวนริศ" หรือ "ตัวริบบิ้น" ของสมเด็จครู แล้วนำมาปรับแต่งให้ทันสมัย แต่ยังคงกลิ่นอายของวัฒนธรรมไว้

  

ฟอนต์ ‘เสาชิงช้า (Sao Chingcha)’ 

ประกอบไปด้วย 3 น้ำหนัก ได้แก่ Light, Regular และ Bold ซึ่งได้ทีมงาน ‘Katatrad’ มาช่วยนำ Sketch Design ของตัวอักษรไปต่อยอดให้ครบเซ็ต รวมถึงจัดการเรื่องระบบ Coding ที่จะทำให้ตัวอักษรทั้งหมดกลายมาเป็นฟอนต์ที่โลดแล่นในการสื่อสารของ กทม. ได้อย่างสมบูรณ์

ซึ่งนอกจากระบบอัตลักษณ์หลัก ๆ แล้ว Farmgroup ก็ยังสร้างกราฟิกเฉพาะ (Signature Graphic) เพื่อเสริมความแข็งแรงของระบบอัตลักษณ์เข้าไปอีกชั้น จากการนำ ‘วัชระ’ อาวุธคู่กายพระอินทร์มาออกแบบใหม่ให้ได้สัดส่วนแบบทันสมัย แล้วครอบเอาบางส่วนมาใช้ต่อในบางโอกาส เพื่อเพิ่มรสชาติชิ้นงานกราฟิกให้กลมกล่อม

ภาพจาก Farmgroup

และนำองค์ประกอบทางกราฟิกทั้งหมดมาทดลองทำเป็นภาพ Mock Up

เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ในการใช้งานหลากหลายมิติ 

 

 สามารถลองเล่นกันดูได้ที่
https://bkk-sticker.vercel.app

กลับไปยังบล็อก