สีดำ ออกแบบ photoshop ตั้งค่า illustrator พิมพ์สีดำ cmyk rgb ต่าง กันอย่างไร

ความลับของสีดำใช้อย่างไรให้พิมพ์ออกมาสวยถูกใจ

สีดำ ไม่หมู กราฟิกดีไซเนอร์ที่ใช้โปรแกรม Photoshop หรือ Illustrator ออกแบบ Artwork ส่งโรงพิมพ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งงาน กับชิ้นงานที่ต้องใส่รายละเอียด มีเนื้อหา ตัวอักษรที่ต้องใช้สีดำเยอะ ๆ อย่างเช่น ป้ายสแตนดี้, โรลอัพ, ใบลิว, โบรชัวร์หรือการพิมพ์ฉลากสินค้าต่าง ๆ เชื่อว่าหลายคนคงจะเจอปัญหาเมื่อส่งไฟล์งานไปยังโรงพิมพ์เพื่อตรวจงานครั้งสุดท้าย และพิมพ์ทดสอบ อาจจะเห็นว่าสีดำของตัวอย่างงานนั้นผิดเพี้ยนไป แทนที่จะได้สีดำสนิทกลับได้สีอื่นมาแทน วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับการเลือกใช้ระบบสีและการตั้งค่าระบบสีสำหรับ Artwork ส่งโรงพิมพ์มาฝากกัน

ก่อนอื่นต้องเกริ่นถึงเรื่องของระบบสีที่ใช้ในการออกแบบส่งโรงพิมพ์กันก่อน ระบบสีทั่วไปที่งานออกแบบใช้กันมี 2 ระบบก็คือ ระบบ RGB และ CMYK ซึ่งระบบสีทั้ง 2 มีความแตกต่างกัน และเหมาะกับการใช้ในงานคนละประเภท โดยหากนักออกแบบเฉพาะเจาะจงออกแบบ Artwork ส่งร้านปริ้นท์ ร้ายป้าย โรงพิมพ์ อย่างเช่น งานป้ายสแตนดี้ โรลอัพ โปสเตอร์ ป้ายไวนิลแบนเนอร์ ใบปลิว โบรชัวร์ หรือไซส์เล็กอย่างพิมพ์ฉลากสินค้าต่าง ๆ ระบบสีที่เลือกใช้จะต้องตั้งค่าเป็น CMYK เนื่องจาก CMYK เป็นระบบสีที่ใช้พื้นฐานมาจากแม่สีหลักของงานพิมพ์ซึ่งก็คือสีฟ้า (CYAN) สีม่วงแดง (MEGENTA) สีเหลือง (YELLOW) และ สีดำ (BLACK)  เพราะฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยดีไซน์เนอร์ควรตั้งค่าระบบสีของงานที่จะต้องส่งพิมพ์เป็น CMYK ตั้งแต่แรก และกดเช็คดูค่าสีให้ชัวร์ (Color Picker) 

 

สีดำ ออกแบบ photoshop ตั้งค่า illustrator พิมพ์สีดำ cmyk rgb ต่าง กันอย่างไร black cmyk สีดำ ตั้งค่าสีดำงานโรงพิมพ์ สีดำสำหรับงานพิมพ์ พิมพ์สีดำแล้วเพี้ยน

 

จากภาพด้านบนนั้นจะเห็นได้ว่าเราตั้งค่าสีดำหลากหลายค่าแล้วแต่ On Screen ในโหมด CMYK ก็ให้ผลลัพธ์สีดำเหมือนกันหมด แต่เมื่อพิมพ์ออกมาจริง ๆ จากเครื่องปรินท์ต่าง ๆ เราจึงจะเห็นผลลัพธ์ของหมึกที่ฉีดผสมกันออกมาตามสัดส่วนที่เรากำหนดในค่าสี CMYK ที่ตั้งเอาไว้ ดังนั้น เราต้องสังเกตุสีดำให้ชัวร์ก่อนว่าตรงตามที่เราต้องการโดยดูจากค่าเลข อย่าดูด้วยตาที่เราเห็นสีจากจมันไม่แม่นเสมอไป

Tips พิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องการให้งานปริ้นท์หรืองานพิมพ์อื่นที่มีองค์ประกอบเป็นสีดำออกมาดำสนิทสวยงามด้วยการตั้งค่าสี 2 วิธี ดังนี้

1.สีดำสนิทสำหรับพื้นที่ขนาดเล็ก เช่น ตัวอักษร เส้นขอบบาง ๆ และมีขนาดเล็กมาก ให้ตั้งค่าสีดำ โดย CMY เป็น 0% และ K เป็น 100%

2.สีดำสนิทสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น โลโก้ ข้อความไซส์ใหญ่พิเศษ หรือพื้นหลังของงาน โดยตั้งค่า C เป็น 30% MY เป็น 0% และ K เป็น 100%

แต่หากนักออกแบบต้องการ Artwork เพื่อใช้กับสื่อออนไลน์ที่แสดงผลผ่านทางคอมพิวเตอร์หรือจอภาพของอุปกรณ์ต่าง ๆ ระบบสี RGB จะเป็นระบบสีที่เหมาะสมและทำให้งานที่นำเสนอออกมามีความสวยงามมากกว่า เนื่องจาก RGB มีพื้นฐานมาจากการใช้สีหลักคือ สีแดง (RED) สีเขียว (GREEN) และสีน้ำเงิน (BLUE) โดยหลักการผสมสีจะเกิดจากการหักเหของแสง ทำให้สีระบบนี้เหมาะสำหรับการใช้ในงานที่นำเสนอผ่านจอภาพ

จากความแตกต่างของการแสดงผลในระบบสีดังที่ได้กล่าวมาแล้ว หากต้องการใช้สีดำสนิทสำหรับงานพิมพ์ต่าง ๆ อาทิ ป้ายไวนิล โปสเตอร์ แสตนดี้ ใบปลิว ฉลากสินค้า ฯลฯ และการแสดงผลผ่านจอภาพคู่กัน เพื่อให้ได้คุณภาพงานสูงสุดตามการใช้งาน เราขอแนะนำให้นักออกแบบ เพิ่มขึ้นตอนและยอมเสียเวลาอีกนิด เช็คชัวร์ที่ค่าสีที่ตั้งไว้ และต้องแยกการออกแบบแต่ระบบสีตั้งแต่แรกจะดีที่สุด แม้ว่าการแปลงระบบสีจาก RGB เป็น CMYK เพื่อส่งโรงพิมพ์จะสามารถทำได้ แต่ก็จะได้สีที่มีความผิดเพี้ยนไปจากสเปคของลูกค้าแน่นอน สุดท้ายก็ต้องเสียเวลาทำใหม่อยู่ดี

เชื่อว่าเทคนิคที่เรานำมาฝากกันในวันนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับนักออกแบบโดยเฉพาะดีไซน์เนอร์ที่ออกแบบ Artwork ส่งโรงพิมพ์ทั้งหลาย ซึ่งช่วยให้จบงานได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องเจอกับปัญหาสีเพี้ยน  สีดำไม่สนิทอีกต่อไป

กลับไปยังบล็อก